คำว่า Gig economy หรือ เศรษฐกิจแบบกิ๊ก เริ่มจากการแสดงของนักดนตรี
หรือวงดนตรีที่รับจ้างเป็นครั้ง ๆ เริ่มใช้ครั้งแรกในทศวรรษที่ 1920
ต่อมาให้ความหมายกับงานที่มีลักษณะเป็นงานชั่วคราว งานที่รับจ้างเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
และจบเป็นครั้ง ๆ ไป โดยไม่ยึดติดกับที่ใดที่หนึ่ง คล้ายกับการทำงาน part-time
การทำงานอิสระเต็มเวลา (freelance) และคนที่ทำงานประเภทดังกล่าว
จะเรียกว่า Gig worker ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนเป็นรายครั้ง
ตามจำนวนและคุณภาพความยากง่ายของงานที่ทำ โดยไม่มีพันธสัญญากับนายจ้าง
ยังรวมถึงการทำงานแบบมืออาชีพอีกหลายประการ เช่น ทนายความ แม่บ้าน
ผู้สอนวิชาชีพบางประเภท ศิลปิน นักลงทุน เกษตรกร ฯ . . .
ในปี 2021 คาดว่าผู้บริหารกว่า 40 % พร้อมที่จะใช้บริการของพนักงานบางเวลา
และพนักงานอิสระมากขึ้นในองค์กร และเชื่อว่าเศรษฐกิจแบบกิ๊กนี้จะมีผลต่อกระแส
และแนวทางการดำเนินการทางธุรกิจกว่า 50 % (ข้อมูลจาก BCG Henderson)
และปัญหาที่สำคัญ คือ การหาบุคลากรที่มีศักยภาพหรือทักษะที่ตรงกับงาน
และ 62 % ของผู้บริหารเชื่อว่า กลุ่มการทำงานบางเวลานี้
จะช่วยให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินให้กับองค์กรได้
และ Deloitte เชี่อว่า 33 % จะมีการใช้แรงงานประเภทนี้ในงานเกี่ยวกับ IT,
25% ในส่วนของการปฏิบัติการ, 15% ในส่วนการตลาด
และอีก 15% จะใช้ในการวิจัยและการพัฒนา รวมถึงการมีการพัฒนาการซื้อขายสินค้า
ผ่านระบบ digital platform ด้วย e-commerce . . .